center


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร และบุคลากรสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง


center

center

สารจากผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

          

          สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นส่วนงานภายในที่จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีพันธกิจในการให้บริการวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร

          

          ประเทศไทยของเรานับเป็นประเทศที่โชคดี เพราะตั้งอยู่บนตำแหน่งที่เหมาะสมบนพื้นผิวโลก ภูมิอากาศไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนจึงไม่พบกับความอดอยากมากนัก ถ้าตั้งอยู่บนความขยัน หมั่นเพียร และอดทน นี้เป็นสิงที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานแนวทางไว้ให้แก่ปวงชนทั้งหลาย นั่นคือศาสตร์ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”

          

          ในนามของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสถาบันฯ ทั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย สถาบันฯ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานอันจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ ให้ดียิ่งๆขึ้นไป รวมถึงเป็นแหล่งองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


นายอภิวัฒน์ วงศ์ณรัตน์

ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง


ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหน่วยงาน

สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง Sufficieny Economy Institute (I.S.E)

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า เลขที่ 6 หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งใน 40 สถาบันที่ได้รับพระราชทานนาม “ราชภัฏ” มีความหมายว่า “ฅนของพระราชา” ที่จะทำงานตามรอยพระยุคลบาทของพระองค์ท่าน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อุดมการณ์ในการพัฒนาการศึกษาที่จะนำสังคมและท้องถิ่นๆ ไปสู่ความพอเพียง จึงมีเงื่อนไขที่สำคัญสองประการ คือ ความรู้ คุณธรรม บุคลากรทางการศึกษาทุกภาคส่วนของราชภัฏ จึงควรยึดมั่นอุดมการณ์ของความเป็นฅนของพระราชา คือ อุดมการณ์แห่งราชภัฏ อุดมการณ์เศรษฐกิจพอพียง

โดยอุดมการณ์แห่งราชภัฏตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ประกอบกับมาตรา 8 กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ (1) การแสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล (2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ (3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ (4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรมจริยธรรมและความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม (5) เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (6) ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (7) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และ (8) ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ดังนั้นมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ครั้งที่ 7/2553 ได้อนุมัติให้จัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงเป็นส่วนงานภายในขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เรื่อง จัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง (สกพ.) ฉบับลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 โดยสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มีเป้าหมายที่จะมุ่งมั่นเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท มีปณิธานมุ่งสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยท้องถิ่นของพ่อ” มีอุดมการณ์ที่จะเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop services) แก่ประชาชนทุกระดับทุกสาขาอาชีพอย่างแท้จริง ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเสด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปรัชญา (Philosophy)

พอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (Vision)

เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออก

พันธกิจ (Mission)

1. บริการวิชาการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. สร้างองค์ความรู้ ความมั่งคง และยั่งยืนให้กับชุมชน ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ค่านิยมองค์การ (Core value) : EASY

E : Enthusiastic การกระตือรือร้น

A : Autonomous พึ่งพาตนเองได้

S : Sustainable ยั่งยืน มั่งคั่ง มั่นคง

Y : Youthful ความหนุ่มสาวมีพลังในการทำงาน

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริการวิชาการแก่สังคมเชิงรุก ที่เชื่อมโยงกับการทะนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำรับใช้สังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศไทย 4.0

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์บางคล้า ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารและพัฒนาบุคลากรทุกระดับเชิงรุก เพื่อสร้างความผูกพันกับมหาวิทยาลัย

อัตลักษณ์ (Identity)

“เพียงพอก็พอเพียง”

บุคคลากร


ผู้บริหารและบุคคลากรประจำสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

ประธานกรรมการ


center

รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

กรรมการ

center

นายจิตรกร เผด็จศึก

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
center

นายวริสร รักษ์พันธ์

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
center

นางวิภา ภิญโญโชติวงศ์

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
center

นางสาววัลย์ลิกา วณิชกุลพิทักษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

กรรมการและเลขานุการ


อ.อภิวัฒน์ วงศ์ณรัตน์

ผู้อำนวยการสถาบัน

ผู้ช่วยเลขานุการ


อ.ไตรภพ โคตรวงษา

รองผู้อำนวยการ

นางสาวพนิตตา สนนำพา

หัวหน้าสำนักงาน

บุคคลากร


นางสาวรุจิรา ขุนวงษ์

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

นางสาวธนพร มาราช

นักวิชาการเกษตร