การเลี้ยงกบในกระชัง


การเลี้ยงกบในกระชัง

-          เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากเช่นกัน เพราะมีต้นทุนน้อยกว่าเลี้ยงในบ่อปูนพอสมควร

-          สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่สุด แต่ยากต่อการควบคุมความสะอาดบ่อและยากต่อการควบคุมโรคกว่าบ่อปูน

ลักษณะบ่อดินเพื่อใช้เลี้ยงกบในกระชัง

-          โดยจะขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซนติเมตร ไว้หลาย ๆ บ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นทุ่งนามาก่อน

-          นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป (ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง เลยทีเดียว โดยมักจะใส่จนเต็มพอดีกับพื้นที่ และมีทางเดินตรงกลางเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบขายได้

-          สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ไผ่ และนำแผ่นยางลอยน้ำรองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอาศัยอยู่

-          ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ

-          ปกติถ้าน้ำดี ๆ จะถ่ายน้ำทุก ๆ 7 วันก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก

น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบในกระชัง

-       หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำและตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ

-          น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอหรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้น ควรพิจารณาในการนำมาใช้ ถ้าจะนำมาใช้ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน

-          หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาลควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้ แต่บางที่มีคุณภาพดีก็นำมาใช้เลี้ยงกบรุ่น ๆ ได้เลยเช่นกัน

ข้อดี

1.        เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่ทุ่งไร่ ทุ่งนาได้ดีมาก

2.        อายุการใช้งานของกระชังเฉลี่ย 2-3 ปี/กระชัง เงินลงทุนกระชังละไม่เกิน 600 บาท/กระชัง

3.        ให้อาหารง่าย ไม่เปลืองอาหารมากนัก เหมือน ๆ กับการเลี้ยงในบ่อปูน

4.        ควบคุมดูแลโรคได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ เหมือน ๆ กับการเลี้ยงในบ่อปูน แต่ด้อยกว่าเล็กน้อย

5.        สามารถจับกบขายได้ตลอดเวลา

6.        จำนวนกบที่รอดชีวิตจนจับขายได้ มีสูงกว่าบ่อดินธรรมดามาก

ข้อเสีย

1.        หากผู้เลี้ยงมีอายุมาก จะเสี่ยงต่อการลื่นล้มเป็นอัมพาต หรือเป็นลมแดด จมน้ำเสียชีวิตได้ เพราะอาจต้องใช้สะพานดินลงไปให้อาหารภายในบ่อ

2.        ลงทุนสูงกว่าเลี้ยงกบในบ่อดินธรรมดา แต่ต้นทุนน้อยกว่าการสร้างบ่อปูน

3.        ถ้าเลิกเลี้ยงต้องรื้อถอนกระชังออก และต้องซื้อดินมาถมบ่อสิ้นเปลืองมาก ๆ


สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

เลขที่ 6 หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

โทรศัพท์ 038-500000 ต่อ 7600, 0944791659