ปั้นดิน ให้เป็นบ้าน
“ การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือความพอมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็ว แต่ประการเดียวโดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด.... ”
พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 18 กรกฎาคม 2517
บ้านดิน เป็นหนึ่งในการนำแนวคิดของการใช้วัสดุท้องถิ่นมาสร้างเป็น “ บ้าน ” หรือที่พักอาศัยที่ต้องตามลักษณะของแต่ละท้องถิ่น เพื่อลดการตัดไม้ทำลายป่า การขนส่งทรัพยากรจากแดนไกลเพื่อสร้างเป็นบ้านเรือน และเพื่อให้มนุษย์สามารถมีบ้านอันเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ด้วยการสร้างบ้านจากดิน วัสดุธรรมชาติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพียงเปลี่ยนรูปจากดินให้เป็นบ้านและเมื่อรื้อลงบ้านดินก็กลับกลายสู่ผืนดินคืน บ้านดินจึงเป็นบ้านที่เป็นมิตรกับธรรมชาติอย่างแท้จริง นอกจากนั้น บ้านดินยังมีอุณหภูมิภายในที่เย็นตลอดทั้งปี ถึงอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องติดแอร์ ประหยัดพลังงาน ดีต่อสุขภาพ
ลักษณะเด่นของบ้านดิน
- บ้านไม่ร้อน อิฐบล็อกดินดิบนั้นเป็นตัวป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี เพราะบ้านดินนั้นจะมีความหนาแน่นมากกว่าวัสดุอื่นทำให้แสงแดดที่มากระทบแพร่คลื่นความร้อนออกมาได้น้อยกว่าบ้านผนังชนิดอื่น ๆ
- ราคาประหยัด แน่นอนกว่าการใช้ดินสร้างบ้านนั้นไม่จำเป็นต้องซื้อ เราสามารถหาแหล่งดินเหนียวและสร้างอิฐบล็อกดินดิบจากดินเหนียวเพื่อเอาไว้สร้างบ้านของเราได้เลย
- สร้างเองได้ บ้านดินนั้นสามารถสร้างได้เองง่าย เพียงแค่ดูภาพตัวอย่างจากคลิปก็ได้โดยเฉพาะแบบบ้านดินชั้นเดียว แต่หากเป็นบ้านดินสองชั้นต้องมีความรู้เรื่องโครงสร้างบ้านด้วย
- สุขภาพ บ้านดินนั้นเป็นบ้านที่สร้างจากวัตถุดิบธรรมชาติ เวลาสร้างเสร็จจะไม่เหลือสารเคมีตกค้าง ตัวอย่างปัญหาบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ คือการเหม็นสีจากบ้าน
- แข้งแรง ดินเหนียวเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงไม่แพ้วัสดุอื่น ๆ ดีไม่ดีอาจจะแข็งแรงกว่าบ้านไม้ด้วยซ้ำไป การอยากทำให้ดินเหนียวแข็งแรงมากขึ้นคือการผสมวัสดุช่วยยึดและยืดหยุ่น เช่น แกลบ เศษไม้ ขี้เลื่อยหรือฟาง เข้าไปเพื่อช่วยยึดดินเหนียวให้เข้ากันมากยิ่งขึ้นไม่แตกร้าวและเป็นฉนวนได้เป็นอย่างดี
- บ้านป้องกันปลวก บ้านที่สร้างจากดินจะไม่เป็นแหล่งอาหารของปลวก
- ทนไฟ ดินเหนียวนั้นจะไม่ติดไฟแต่เราควรระวังเรื่องหลังคาบ้านของเราด้วย หากมุงด้วยฟางหญ้า
สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
เลขที่ 6 หมู่ 4 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
โทรศัพท์ 038-500000 ต่อ 7600, 0944791659